
แมวสโนว์ชู
แมวสโนว์ชู (snowshoe cat) เป็นสายพันธุ์แมวขนสั้นที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์มาจนได้เป็นแมวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมทั้งมีสีขนสามสีโดดเด่น แมวสโนว์ชูมีลักษณะนิสัยที่ร่าเริง ชอบเล่น ชอบการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา สามารถเข้ากันได้ง่ายกับคนทั่วไป ทั้งยังชอบให้คลอเคลียอยู่ตลอดเวลา พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่กว้างขวาง พื้นที่ที่จำกัดก็สามารถเลี้ยงได้ นอกจากนี้ควรใส่ใจในเรื่องอาหารที่มีคุณประโยชน์ครบถ้วน รวมไปถึงการดูแลความสะอาดและการพาไปตรวจสุขภาพจากสัตวแพทย์เพื่อฉีดวัคชีนป้องกันโรคในอนาคต
ประวัติของแมวสโนว์ชู
แมวสโนว์ชูถือเป็นสายพันธุ์แมวที่ค่อนข้างใหม่ ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ดั้งเดิมมาจากแมวสยาม โดยแมวสยามได้ผสมพันธุ์กับแมวสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างเช่น แมวอเมริกันซ็อตสแฮร์ แมววเบอร์แมน และแมวบริติชชอร์ตแฮร์ จนได้เป็นแมวทั้มีขนสั้น นุ่ม พร้อมกับมีลวดลายตามตัวเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งภายหลังถูกค้นพบว่าเป็นชาวบ้านในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้เพาะพันธุ์และตั้งชื่อว่า แมวสโนว์ชู พร้อมกับให้เป็นแมวที่มีถิ่นกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกา จนกลายเป็นสายพันธุ์แมวสายพันธุ์ใหม่ที่ได้รับความนิยมมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะของแมวสโนว์ชู
ขนาด : แมวสโนว์ชู เป็นแมวขนาดกลาง
น้ำหนัก : เฉลี่ยประมาณ 3 – 6 กิโลกรัม
รูปร่าง : สมส่วน หัวกลม จมูกสั้นรับกับตา ใบหูขนาดกลางตั้งตรง หางยาวเรียว ขนสั้นนุ่ม
สีสันและลวดลาย : แมวสโนว์ชู มีสีสันที่หลากหลาย ดังนี้
สีขน : สีดำ / สีขาว / สีน้ำตาล / สีครีม
ดวงตา : สีฟ้า กลมโต
อายุ : เฉลี่ยโดยประมาณ 15 – 20 ปี หรือมากกว่านั้น
การสืบพันธุ์และวงจรชีวิตแมวสโนว์ชู
แมวสโนว์ชูเพศผู้
เข้าสู่ช่วงโตเต็มที่และสามารถเจริญพันธุ์ได้เมื่อมีอายุครบประมาณ 6-8 เดือน โดยเพศผู้จะสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งจะเริ่มเข้าใกล้เพศเมียก็ต่อเมียได้ยินเสียงเรียกร้อง และได้รับฟีโรโมน หลังจากนั้นจะพยายามเข้าไปเลียตามตัว ดมอวัยวะเพศก่อนจะผสมพันธุ์
แมวสโนว์ชูเพศเมีย
เข้าสู่ช่วงโตเต็มที่และสามารถเจริญพันธุ์ได้เมื่อมีอายุครบประมาณ 6-8 เดือน โดยเพศเมียจะเข้าสู่ช่วงการเป็นสัดประมาณ 4-6 สัปดาห์ ในช่วงนี้เพศเมียจะมีเลือดไหลออกตามอวัยวะเพศ และพร้อมที่จะผสมพันธุ์อย่างเต็มรูปแบบ เพศเมียจะร้องส่งเสียงดังเพื่อดึงดูดเพศผู้ ให้เข้าใกล้ก่อนที่จะผสมพันธุ์
วงจรชีวิตของแมวสโนว์ชู
หลังจากเพศผู้และเพศเพศเมียเกิดการผสมพันธุ์กันอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว เพศเมียจะเข้าสู่ภาวะการตั้งท้องนานประมาณ 63-65 วัน สามารถมีลูกได้ครั้งละ 2-4 ตัวต่อครอก หลังจากคลอดออกมากลูกแมว จะสามารถได้ยินเสียงพร้อมกับลืมตาครั้งแรกเมื่อมีอายุครบ 2 สัปดาห์ สามารถทานอาหารชนิดอื่น ๆ เมื่อมีอายุครบประมาณ 6 สัปดาห์ และเริ่มหย่านมเมื่อมีอายุครบ 8 สัปดาห์ หลังจากนั้นลูกแมวจะออกห่างแม่
ลักษณะนิสัยของแมวสโนว์ชู
แมวสโนว์ชูเป็นแมวสายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะนิสัยที่แสนฉลาด ขี้เล่น มีความร่าเริงอยู่ตลอดเวลา กิจกรรมในแต่ละวันสำหรับแมวสโนว์ชูมักจะเรียนรู้ไปกับสิ่งใหม่ ๆ ทั้งยังชอบเล่นกับเจ้าของ ชอบเรียกร้องความสนใจจากเจ้าของ แมวสโนว์ชูสามารถเข้าได้ง่ายกับคนทั่วไป ชอบให้คนคลอเคลีย ชอบร้องขอความรัก นอกจากนี้แมวสโนว์ชูยังสามารถเข้าได้ง่ายกับสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันควรเลี่ยงการเลี้ยงคู่กับสุนัขที่ดุเพราะอาจจะได้รับอันตรายได้

คำแนะนำในการดูแลแมวสโนว์ชู
พื้นที่ที่เหมาะสำหรับเลี้ยงแมวสโนว์ชู
แมวสโนว์ชูเป็นแมวที่สามารถปรับตัวได้กับทุกสถานที่ ดังนั้นพื้นที่ที่เหมาะสมจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ พื้นที่ที่จำกัดก็สามารถเลี้ยงได้ แต่ภายในพื้นที่นั้นควรมีที่ให้แมวสโนว์ชูไปวิ่งเล่น หรือปีนป่าย อาจจะจัดเตรียมคอนโดสำหรับแมว หรือหากผู้ที่เลี้ยงไม่มีพื้นที่ไว้ให้ได้เล่น ควรพาแมวสโนว์ชูได้ออกไปวิ่งเล่นตามสวนสาธารณะอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อให้แมวได้ออกกำลังกาย ที่สำคัญยังช่วยให้ระบบร่างกายเกิดการกระตุ้นอีกด้วย
อาหารที่เหมาะสำหรับแมวสโนว์ชู
แมวสโนว์ชูถือเป็นสายพันธุ์แมวที่มีความแข็งแรงอีกสายพันธุ์ อาหารที่เหมาะสมควรจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ประกอบไปด้วย โปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรตปานกลาง ไขมันต่ำ นอกจากนี้ยังสามารถเสริมด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เข้าไปด้วยได้อีกเพื่อช่วยบำรุงส่วนต่าง ๆ รวมไปถึงบำรุงขนของแมวสโนว์ชู และอาหารสำหรับแมวสโนว์ชูมีทั้งชนิดเม็ด ชนิดเปียก รวมไปถึงอาหารปรุงเอง
การดูแลทำความสะอาดแมวสโนว์ชู
แมวสโนว์ชูเป็นแมวสายพันธุ์ขนสั้นด้านการดูแลรักษาความสะอาดจึงค่อนข้างง่าย แต่โดยปกติแล้วแมวสโนว์ชูก็มักจะเลียทำความสะอาดเองอยู่แล้ว หากเจ้าของต้องการอาบน้ำก็สามารถอาบได้อย่างน้อยปีละครั้ง 1-2 ครั้ง ดังนั้นควรดูแลในส่วนอื่น ๆ แทน เช่นการแปรงขน เป็นการผลัดขนเก่าออก กระตุ้นการเกิดขนมาใหม่ เพียง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ การแปรงฟัน เช็ดทำความสะอาดบริเวณดวงตา เช็ดใบหู สั่งเหล่านี้ก็สำคัญเช่นเดียวกัน ควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อปกป้องการสะสมของแบคทีเรีย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : storiecats.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : แมวไซบีเรียน(siberian cat)