ROGO storiecats
แมวเบงกอล (bengal cat)

แมวเบงกอล

แมวเบงกอล (bengal cat) เป็นแมวที่มีขนาดกลางไปถึงใหญ่ ด้วยเอกลักษณ์ลวดลายขนที่โด่ดเด่น และรูปร่างที่สะดูดตาทั้งยังมีนิสัยที่ฉลาด ชอบเล่น ชอบการปีนกระโดดตามที่สุง ทั้งยังเข้ากันง่ายกับคนแปลกหน้า ชอบเข้าใกล้คนให้คลอเคลีย พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับแมวสายพันธุ์นี้จึงเหมาะกับพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่นบ้านที่ติดกับสวน หรือบ้านที่มีรั้วให้ได้ปีนป่าย เพื่อออกกำลังกายกร้ามเนื้อ เนื่องจากเป็นแมวที่ใช้พลังงานสูงการดูแลใส่ใจในเรื่องของอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญควรเน้นโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยในเรื่องการบำรุงขนได้อีกด้วย การดูแลเรื่องความสะอาดก็เป็นสิ่งสำคัญ หากขาดการดูแลอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อและเป็นโรคได้ง่ายอีกด้วย เช่น โรคผิวหนัง โรคต้อกระจกตา โรคไต เป็นต้น เพื่อให้แมวที่คุณรักอยู่ไปนาน ๆ ดังนั้นเจ้าของควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนในการป้องกันโรคเป็นประจำทุกปี

ประวัติของแมวเบงกอล

แมวเบงกอลถือเป็นแมวสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาจากหญิงสาวชาวอเมริกา ที่เธอมีแรงบันดาลใจและชื่นชอบแมวป่าเป็นพิเศษ ในช่วงทศวรรษ 1960 เธอได้นำแมวมาผสมข้ามสายพันธุ์กันโดยนำเอาแมวป่า แมวดาว และแมวบ้านของชาวอียิปต์ โดยเลือกจากรูปร่าง ลักษณะ ขนาดตัวที่ใกล้เคียงกันลองผิดลองถูกอยู่นานผลปรากฏว่า แมวที่ผสมพันธุ์ออกมาเป็นหมันทั้งหมด เธอไม่ละความพยายามศึกษาหาวิธีต่อไปจนประสบความสำเร็จตามที่ต้องการจนได้สายพันธุ์แท้ในช่วงปี 1983 ซึ่งแมวเหล่านั้นที่ได้มาก็ได้ตั้งชื้อสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ว่า เบงกอล ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นจากลวดลาย และต้นกำเนิดของสายพันธุ์จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาเรื่องย ๆ จนถึงปัจจุบันทั่วโลก

แมวเบงกอล (bengal cat)

ลักษณะของแมวเบงกอล

ขนาด : แมวเบงกอล เป็นแมวขนาดกลางถึงใหญ่

น้ำหนัก : เฉลี่ยประมาณ 3.6-6.8 กิโลกรัม 

รูปร่าง : ช่วงตัวยาว ขาหลังยาวกว่าขาหน้า หัวกลม หน้าผากกว้าง คอยาว จมูกสั้นแหลม หูตั้งสูง หางเรียวยาว ขนสั้น

สีสันและลวดลาย : แมวเบงกอลมีลวดลายที่หลากหลาย ดังนี้ ลายจุด ลายหินอ่อน ลายเมฆ และลายลูกศร

สีขน : ขาว / ดำ / น้ำเงิน / แดง / ครีม / เทา / น้ำตาลไหม้ / น้ำตาลออกเหลือง

ดวงตา : สีเขียง / สีเหลือง / สีทอง / กลมโตรูปทรงคล้ายนกฮูก

อายุ : เฉลี่ยโดยประมาณ 14 – 16 ปี หรือมากกว่านั้น

การสืบพันธุ์และวงจรชีวิตของแมวเบงกอล

แมวเบงกอลเพศผู้ 

เริ่มโตเต็มที่และเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุครบประมาณ 6-8 เดือน สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี เมื่อเริ่มติดสัตจะแสดงออกทางพฤติกรรมก้าวร้าวเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยรุนแรงมากนัก เริ่มสนใจเพศเมียมากขึ้น จะเข้าใกล้และเริ่มดมอวัยวะเพศเมีย

แมวเบงกอลเพศเมีย

เริ่มโตเต็มที่และเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุครบประมาณ 6-7 เดือน ก่อเพศผู้ เมื่อเข้าสุ่ช่วงติดสัตเพศเมียจะแสดงออกทาพฤติกรรมชัดเจน อย่างเช่น การร้องให้เสียงดัง เพื่อเรียกร้องความสนใจ เข้าใกล้ดมกลิ่นตัวผู้มากขึ้น ถูตัวกับพื้น และส่วนของหางจะชี้ขึ้นฟ้า

วงจรชีวิตของแมวเบงกอล

หลังจากที่เกิดการผสมพันธุ์หรือการปฏิสนธิเสร็จสิ้นสมบูรณ์เพศเมียจะตั้งท้องนานประมาณ 63-65 วัน โดยจะคลอดลูกครอกละ 2-6 ตัว เริ่มลืมตาและเดินเมื่อมีอายุครบประมาณ 2 สัปดาห์ เริ่มหย่านมและออกห่างจากแม่เมื่อมีอายุประมาณ 8-10 สัปดาห์

ลักษณะนิสัยของแมวเบงกอล

แมวสายพันธุ์เบงกอลเป็นแมวที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเมื่อมองแล้วจะรู้สึกถึงเสือดาวขนาดเล็กทั้งยังมีลักษณะนิสัยใกล้เคียงกันคือการชอบปีนป่ายขึ้นที่สูง ขี้เล่น เป็นแมวที่มีพลังงานสูง กล้ามเนื้อเข็งแรง เป็นต้น แต่ในเวลาเดียวกันแมวเบงกอลก็มีความโดดเด่นทางด้านการการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ เข้ากันได้ง่ายกับคนแปลกหน้า ชอบให้อยู่ใกล้คนชอบให้คลอเคลีย เมื่อได้รับความรักจากเจ้าของหรือคนอื่น ๆ แมวจะแสดงพฤติกรรมร้องออกมาเบา ๆ เพื่อขออ้อน ทั้งยังเดินเบียดเข้าใกล้หางชี้ขึ้นฟ้าไปมา

คำแนะนำในการดูแลแมวเบงกอล

พื้นที่ที่เหมาะสำหรับเลี้ยงแมวเบงกอล

สำหรับแมวสายพันธุ์เบงกอล เป็นแมวที่มีขนาดกลางไปถึงใหญ่ ชอบในการปีนป่ายที่สูง เหมือนแมวป่านักล่า มีความอยากรู้อยากเห็น ดังนั้นพื่นที่ที่เหมาะสมสำหรับแมวสายพันธุ์นี้จึงควรเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่อากาศถ่ายเท เหมาะกับบ้านที่มีสวนหรือสนามหญ้าสามารถวิ่งเล่นทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้แมวเบงกอลยังสามารถเลี้ยงได้ในพื้นที่ที่จำกัดได้ เช่น คอนโด อพาร์ทเมนต์ แต่ต้องมีอุปกรณ์ที่สามารถให้แมวได้ปีน วิ่งเล่น รวมไปถึงของเล่นต่าง ๆ ติดไว้เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย 

อาหารที่เหมาะสำหรับแมวเบงกอล

เนื่องจากแมวสายพันธุ์นี้เป็นแมวที่มีขนาดตัวกลางไปถึงใหญ่ ร่างกายค่อนข้างแข็งแรง ดังนั้นอาหารจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในแต่ละวัน และเป็นอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย อาทิ อาหารที่มีโปรตีนสูง ที่ได้จากเนื้อสัตว์ ไขมันต่ำที่ได้จากพืช และวิตามินแร่ธาตุต่าง ๆ ควรเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต อาหารรสจัด และอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ประเภทของอาหารที่เหมาะสมได้แก่ อาหารเม็ด อาหารเปียก และอาหารสดสำหรับแมวเบงกอล โดยปริมาณที่ควรจะได้รับควรให้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน หากให้เยอะจะก่อให้เกิดโรคอ้วน และให้น้อยจะทำให้ขาดสารอาหารได้

การดูแลทำความสะอาดแมวเบงกอล

แมวสายพันธุ์นี้มีลักษณะขนที่สั้นหนานุ่ม ด้านการดูแลทำความสะอาดจึงง่าย และแมวเป็นสัตว์ที่ชอบดูแลความสะอาดเองเป็นประจำอยู่แล้ว เจ้าของไม่จำเป็นที่จะต้องแปรงขนบ่อยนักเพียงสัปดาห์ละครั้งก็พอ โดยการใช้ขนแปรงที่นุ่มในการแปรงเพื่อเป็นการผลัดขนที่หลุดออกมาเพื่อกระตุ้นการเกิดขนใหม่ขึ้นมา นอกจากนี้ยังต้องดูแลทำความสะอาดในส่วนของหู ดวงตา เล็บ และแปรงฟัน อย่างเป็นประจำตามความเหมาะสมอีกด้วย เพื่อให้เป็นการลดการสะสมของเชื้อโรคแบคทีเรียต่าง ๆที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย

การดูแลด้านสุขภาพของแมวเบงกอล

นับว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ต้องดูแลใส่ใจทุกรอบด้าน สังเกตพฤติกรรมการแสดงออก เพราะหากไม่ใส่ใจสัตว์เลี้ยงอาจจะอยู่กับท่านได้ไม่นาน ซึ่งแมวสายพันธุ์เบงกอลมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคบางอย่าง อาทิเช่น โรคฟันหินปูน โรคผิวหนังอักเสบ โรคเกี่ยวกับดวงตา และโรคไต ดังนั้นต้องดูแลใส่ใจเกี่ยวกับอาหารที่ดีมีปรธโยชน์ต่อสุขภาพและขนที่สวยงาม การดูแลทำความสะอาดตามส่วนต่าง ๆ ที่เป็นบ่อเสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมถึงพาไปตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำเพื่อเช็คโรคและฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคในอนาคต

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : storiecats.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : แมวอะบิสซิเนียน (Abyssinian cat)